บทที่ 3: ประวัติศาสตร์ของไอดอล

Translations | May 2023Read in Outline

จุดเริ่มต้นของไอดอล

ต่อจากนี้ผมจะมาพูดถึงประวัติศาสตร์ของไอดอลให้ฟัง

แต่ว่าด้วยข้อจำกัดของจำนวนหน้า, ผมจะสรุปให้ฟังสั้นๆละกัน

ถ้าอยากรู้ละเอียดๆ มีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ ลองไปหาดู

ที่โรงเรียนพวกเรามีเรียนวิชาประวัติศาสตร์กันใช่ไหม ?

เขาคงจะไม่ให้เรามาท่องจำประวัติศาสตร์ทั้งหมดหรอก

ผมเชื่อว่า ความรู้ว่าไอดอลมาอยู่ประเทศนี้ได้ยังไง เส้นทางเป็นมายังไง 

มีประโยชน์แน่ๆ สำหรับพวกเธอที่จะเป็นไอดอลต่อจากนี้

คำว่า ไอดอล (idol) เป็นคำมาจากต่างประเทศมาตั้งนานแล้ว

ถึงจะไล่ตามว่าความหมายเป็นมายังไง ก็คงจะไปไม่สิ้นสุด

สิ่งที่สำคัญคือ ตอนนี้ คำว่าไอดอลที่เรารู้จักกันเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่

ว่ากันว่าปีนั้นคือปี 1971 มินามิ ซาโอริ (南沙織) คือไอดอลคนแรกที่สุด เป็นสาวน้อยเกิดที่โอกินาว่า

ในวัน 6 มกราคมปี 1971 เธอได้เดบิ้วด์ไปกับเพลงที่ชื่อ "17 才" (แปลว่า "อายุ 17 ปี")

(คนชอบพูดกันว่า "ณ เวลานั้นนั้นเธออายุ 16 ปี, แปลว่า ไอดอล = เรื่องแต่ง มาตั้งแต่เริ่มต้นเลยเหรอเนี่ย!?")

ในปีเดียวกันก็เริ่มมีรายการออดิชั่นชื่อ "スター誕生" (star tanjou) หลังจากนั้นก็มีไอดอลเกิดขึ้นมามากมายในช่วงปี 70

ในรายการนั้นก็มี โมริ มาซาโกะ (森昌子), ซากุระ จุนโกะ (桜田淳子), ยามากุจิ โมโมเอะ (山口百恵) หรือเรียกว่า "花の中3トリオ" ที่เป็นที่นิยมมากๆด้วยนะ

ส่วนใหญ่ตอนแรกไอดอลเป็นศิลปินเดี่ยว และก็เป็นสาวน้อยในช่วงอายุ 10 กว่าปี

โด่งดังมาจากทีวีและก็แสดงในรายการทีวีเป็นส่วนใหญ่ จำสิ่งนี้ไว้นะ

วงแรกที่สุดในรูปแบบไอดอลกรุ๊ปที่เรารู้จักกันทุกวันนี้คือวง "キャンディーズ" (Candies) และวง "ピンク・レディー" (Pink Lady)

รัน, ซู และ มิกิ รวมกันเป็นวง Candies และเดบิ้วในปี 1973

เริ่มได้รับความนิยมจากเพลง "年下の男の子" (toshi shita no otoko no ko)

ดังที่สุดในปี 1977, จู่ๆก็ประกาศกลางคอนเสริตว่า "อยากกลับไปเป็นสาวน้อยปกติ !" และก็ยุบวงในปีถัดมา (1978) 

มี้ และ เคย์ เป็นกรุ๊ปสองคนที่เกิดขึ้นจากรายการ Star tanjo ในชื่อ Pink Lady และก็เดบิ้วต์ในปี 1976 ชุดที่ใส่ค่อนข้างแปลกใหม่ และได้รับความนิยมอย่างมากจากเพลงเช่น "ウォンテット" และ "UFO"

Candies เป็นที่นิยมในหมู่นักศึกษา, แต่ Pink Lady โด่งดังอย่างมากในหมู่เด็กเล็ก

ว่ากันว่าไม่มีนักเรียนหญิงระดับประถมคนไหนในช่วงปี 1975 ที่ร้องและเต้นเพลงของ Pink Lady ไม่เป็น และก็รับได้รางวัล Japan Records Award (เป็นความสำเร็จหนึ่งเดียวของไอดอลกรุ๊ปหนึ่งเดียวในยุคโชวะ)

ลองไปหาวิดิโอของ Candies กับ Pink Lady ดูใน Youtube หรือบนอินเตอร์เน็ตดูนะ

ไม่ต่างอะไรกับไอดอลสมัยนี้เลยใช่ไหมละ

ถ้าเกิด AKB48 หรือ Momoiro Clover Z มาร้องและเต้นเพลง "Toshi shita no otoko no ko" หรือ "UFO" ก็ไม่แปลกหรอก

พูดง่ายๆเลยว่า วัฒนธรรมไอดอลที่เกิดขึ้นในปี 1971 ได้สมบูรณ์แบบตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังทศวรรษ 1970 แล้ว


สมบูรณ์แบบด้วยโทรทัศน์

เรามาลองมองประวัติศาสตร์ในมุมที่ใหญ่กว่านี้อีกหน่อยดีกว่า

ก่อนที่จะมีไอดอลก็มีนักร้อง และวงการดนตรี นักร้องคนแรกคงจะร้องเพลงสดๆอยู่ข้างนอก

การกำเนิดของแผ่นเสียงคือจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ หลังจากนั้นการขายแผ่นเสียงก็เป็นธุรกิจสำคัญของนักร้องสมัยนั้น

พอวิทยุเริ่มเป็นที่นิยมขึ้นมา, การเปิดเพลงในรายการวิทยุก็ถูกใช้เป็นการโปรโหมดนักร้องคนนั้น เพื่อให้แผ่นเพลงขายดีขึ้น

หลังจากนั้นก็เริ่มมีทีวี, ที่ต่างกับวิทยุตรงที่มีภาพด้วย จะร้องเพลงเก่งอย่างเดียวไม่ได้แล้ว หน้าตาก็สำคัญ

ชุด, การแต่งหน้า และท่าเต้นก็ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

ถ้าลองเทียบนักร้องช่วงยุค 1960s กับ ไอดอลที่เกิดหลังยุค 1970s 

จะเห็นว่าไอดอลอายุน้อยกว่ามาก และหน้าตากับ, ร้องเพลง, การแสดงยังดูด้อยประสบการณ์

นักร้องสมัยก่อนจะชอบมองว่าไอดอลร้องเพลงไม่เก่ง แต่ว่าไอดอลมีเสน่ห์ที่มีแค่ไอดอลที่มีอยู่

ความสดใหม่, พลังของวัยรุ่น, ความน่ารัก, ความหวาน หรือไม่ก็ความพยายามที่จะเจริญเติบโต เสน่ห์ที่นักร้องมืออาชีพยุคก่อนอาจจะไม่มี

ทีวีเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับการถ่ายถอดเสน่ห์ของไอดอลมาก

(ถ้าเกิดว่าทีวีไม่ได้ถูกคิดค้น, แล้วสมัยนั้นยังมีแต่เสียงร้องผ่านรายการวิทยุ, ไอดอลคงจะไม่เป็นเหมือนที่เราเห็นกันในวันนี้)

ทีวีสามารถทำให้ไอดอลที่กำลัง ร้องเพลง,​ เต้น, ใส่ชุดและท่าเต้นที่ดูฉูดฉาด ออกมาดูดีได้

ไม่ว่าจะเป็นไอดอลมือไหมขนาดไหน, เด็กขนาดไหน, ถ้ากำลังร้องเพลง แค่คนเดียวก็สามารถครอบครองหน้าจอทีวีไปได้ 3 นาที เป็นเรื่องที่สุดยอดไปเลย

แต่ว่าถึงไอดอลจะได้แสดงบนเวที, ก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนขนาดนั้น สุดท้ายก็เป็นการโปรโหมดแผ่นเสียงของตัวเองอยู่ดี

ช่วงปี 1970 ไม่ได้มี Music Video หรือ DVD เหมือนสมัยนี้ เครื่องมือบันทึกภาพก็ไม่ได้มีแพร่หลายใช้กันทั่วไป ถ้าอะไรที่ออกอากาศไปบนทีวีแล้ว ก็มีแค่นั้น และก็หายไป หลงเหลืออยู่แค่ในความทรงจำของผู้ชม

แต่ว่าการที่ได้ร้องและเต้นอยู่ในทีวี ก็เป็นการทำให้การถ่ายทอดเสน่ห์ของไอดอลสมบูรณ์แบบ


การ "ชอบ" ผ่านสื่อต่างๆ

ผมบอกไปแล้วใช่มะ ว่า

ไอดอลคืออาชีพที่ทำให้คนอื่นมา "ชอบ"

ยังจำกันได้อยู่ไหม ?

แล้ว, มันต่างยังไงกับความรักทั่วไปกันนะ ?

ต่างกับการที่ นักเรียนชายไป "ชอบ" นักเรียนหญิงห้องเดียวกันยังไง

การที่แฟนคลับมา "ชอบ" ไอดอลเนี่ย, มันผ่านสื่อยังไงล่ะ

สื่อต่างๆก็อย่างเช่น ทีวี,​ ซีดี,​ โฟโต้บุ๊ค,​ DVD, อินเตอร์เน็ตยังไงล่ะ

อ้าวแล้วยังพวกไอดอลที่สามารถไปหาได้เช่น ไลฟ์กับงานจับมือล่ะ ?

งานจับมือกับไลฟ์ก็ต่างเป็นสื่อเหมือนกันยังไงล่ะ

ถ้าได้ลองจับมือกับไอดอลแล้วก็คงจะเข้าใจว่า 

มันคนละอย่างกับผู้ชายและผู้หญิงจับมือกันระหว่างไปเดทเลย

คงจะเข้าใจเนอะ ?

ไอดอลคือ การที่ใช้สื่อต่างๆทำให้คนมา "ชอบ" ยังไงล่ะ

สื่อก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นกัน

ตั้งแต่วิทยุ,โรงภาพยนตร์ มายัง ทีวี และก็ อินเตอร์เน็ต

ไอดอลก็เปลี่ยนแปลงไปตามๆกันเช่นกัน

ในประวัติศาสตร์ของไอดอล ก็มีประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของสื่อเหมือนกัน

ช่วงยุคต้น 1970s ไอดอลได้กำเนิดขึ้นมาในยุคของทีวี 

หลังจากนั้นยุคของทีวีก็ดำเนินต่อมา

คนต่างก็คิดว่าไอดอลคือ "ผู้หญิงมีเสนห์ที่ออกรายการทีวี"


กำเนิดมัทสึดะ เซโกะ

หลังจากยุค 1970s จบลงไป

Candies และ Pink Lady ก็ถูกยุบ

ยามากุจิ โมโมเอะ ที่โด่งดังที่สุดยุคนั้นก็แต่งงานด้วยอายุ 21 ปี และก็ลาออกจากวงการ

ในตอนนั้นถ้าจะพูดถึงนักร้องมือใหม่ในวงการ ก็คงจะไม่พ้นดาวเด่นของค่าย Sun Music,

ไอดอลบูมช่วงนั้นซบเซาลงเยอะมาก

แต่อยู่สาวน้อยคนนึงก็โผล่มาและก็เปิดทางเส้นใหม่

คนคนนั้นคือ มัทสึดะ เซย์โกะ เดบิวด์ในวันที่ 1 เมษายน 1940 ด้วยเพลง "裸足の季節" (Hadashi no kisetsu)

เป็นจุดเริ่มต้นของไอดอลยุค 80s เลย !

ทุกคนเคยพูดว่า "ไอดอลเกิดมาจากทิศไต้" เพราะว่าไอดอลคนแรกสุด มินามิ ซาโอริ เป็นคนเกิดที่โอกินาว่า แต่พอถึงท้ายยุค 1970s ความนิยมของไอดอลก็เริ่มถดถอยลง

แต่คราวนี้ มัทสึดะ เซย์โกะ สาวน้อยจากจังหวัดฟุกุโอกะก็ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นี้

ช่วงกลางยุค 90s สาวน้อยจากโอกินาว่า อามุโระ นามิเอะ ก็ได้เกิดในวงการ

เป็นอะไรที่น่าสนใจจริงๆแล้วการที่มัทสึดะ เซย์โกะ เข้ามาในวงการเนี้ย มันเป็นเรื่องสุดยอดขนาดไหนกันนะ

สองปีหลังจากนั้นไอดอลหลายๆคนอย่างเช่น นากาโมริ อากินะ (中森明菜),​ โคยซุมิ เคียวโกะ (小泉今日子), โฮริ ชิเอมิ (堀ちえみ), ฮายามิ ยู (早見優), อิชิคาวะ ฮิเดมิ (石川秀美), มัทสึโมโตะ ฮิโยะ (松本伊代) ก็เดบิ้วตามๆกันมา เรียกรวมๆว่า "花の82年組" (Hana no hachijuu-ni nen gumi)

ลองไปดูรูปของพวกเธอซิ, ทุกๆคนทำผมทรงเซย์โกะคัทกันหมดเลย !!

มัทสึดะ เซย์โกะ เป็นคนเปลี่ยนแฟชั่นของไอดอลสมัยนั้น

ไม่ใช่แค่ไอดอลหรอก, ไม่ว่าจะเป็นสาวๆในเมือง ทุกคนก็ต่างทำผมตามเซย์โกะกันหมด

ยามากุจิ โมโมเอะ พอหลังแต่งงานก็ออกจากวงการบันเทิงไปเป็นแม่บ้าน หลังจากนั้นก็ไม่กลับมาวงการบันเทิงอีกเลย

มัทสึดะ เซย์โกะ หลังแต่งงานมีลูกก็ไม่ได้ออกจากวงการ แต่ยังเป็นไอดอลต่อไป ผู้คนเรียกว่า "ไอดอลรุ่นแม่" แต่สื่อพวกนิตยสาร หรือรายการทีวีก็วิจารณ์เธอเรื่องนี้อย่างหนักเหมือนกัน

แต่ถึงอย่างงั้นเธอก็มีอิทธิพลต่อผู้หญิงในยุค 1980s เป็นอย่างมาก


ลูกๆของ Pink Ladies

มีเรื่องสำคัญอีกเรื่องนึง

เหล่าไอดอลยุค 80s ที่เคลื่อนนำไอดอลบูมยุคนั้นที่พูดถึงก่อนหน้านี้ "Hana no hachijuu-ni nen gumi" จริงๆแล้วสมัยเด็กพวกเขาได้และเต้นเพลงของ Pink Ladies หรือเรียกว่า Pink Ladies' Children

การสืบสานของประวัติศาสตร์ไอดอล มันก็เป็นอย่างงี้แหละ

พอมาถึงกลางยุค 80s ไอดอลบูมก็เข้ามาถึงจุดสูงสุด

ในปี 1985 โคยซุมิ เคียวโกะ ก็ทำให้เพลง "なんてたってアイドル" (nantetatte aidoru) เป็นที่นิยม, เพลงนี้เป็นเพลงที่สื่อความสุดยอดของการเป็นไอดอล, เป็นเพลงที่เนื้อหาแปลกใหม่ในยุคนั้นมาก

ในปีเดียวกัน, おニャン子クラブ (Onyanko Kurabu) ก็ได้เดบิว และก็ออกรายการทีวีช่วงเย็น "夕やけニャンニャン" (Yuuyake nyan nyan),​ ได้เมมเบอร์เพิ่มจากการออดิชั่นทั่วประเทศ และก็มีหมายเลขประจำตัวทุกคน มีเพลง "セーラー服を脱がさないで" ที่เป็นที่นิยมมากๆ

คนที่คิดสิ่งนี้มาก็คือคุณ​ อากิโมโตะ ยาซุชิ, เพลง nantetatte aidoru ก็ได้เนื้อเพลงมาจากเขาเหมือนกัน ศูนย์กลางของไอดอลบูมยุคนั้นก็คือ Producer ของวง AKB48

ในปี 1986, ซีดีที่เกี่ยวกับ Onyanko Club ก็ได้ครองอันดับ 1 ใน Oricon Chart ไป 36 อาทิตย์จาก 52 อาทิตย์ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน !

Onyanko Club ทำออกมาเป็นสไตล์ชมรมหลังเลิกเรียนในโรงเรียนมัธยมปลาย หรือเรียกว่าเป็นการรวมตัวของมือใหม่ก็ได้ ยุคที่ใครก็ได้จะมาเป็นไอดอลมาถึงแล้ว !


การจากไปของไอดอลคนนึง

ตรงนี้ผมจะขอพูดถึงไอดอลคนนึงที่ไม่พูดถึงไม่ได้

เธอคนนั้นคือ 岡田有希子(โอคาดะ ยุกิโกะ)

พวกเธอคงจะไม่รู้จักหรอก เพราะว่าเขาไม่ได้อยู่โลกใบนี้แล้วยังไงล่ะ

8 เมษายน 1986, ช่วงหลังเที่ยง เธอได้โดดลงมาจากตึก 7 ชั้นและก็เสียชีวิต ณ ตอนนั้นเธออายุ 18 ปี

ตึกที่เธอโดดลงมาคือตึกออฟิศของค่ายบันเทิงของเธอ, ในบริเวณที่เสียชีวิตก็มีแฟนคลับมากมายมารวมตัวกัน, วางดอกไม้, ล้อมเป็นวงกลมและก็ทำความเคารพ เป็นข่าวที่น่าตกใจมาก

ณ ตอนนั้น โอคาดะ ยุกิโกะ เดบิ้วต์มาได้เป็นปีที่ 3 เพลงที่ปล่อยออกมาในปีนั้นก็ได้อันดับที่ 1 ใน Oricon Chart เป็นครั้งแรก ("くちびるNetwork" (Kuchibiru Network) แต่งเนื้อร้องโดย มัทสีดะ เซย์โกะ ทำนองโดย ซากาโมโตะ ริวอิจิ) ทำให้เธอเป็นหนึ่งในท็อปไอดอลช่วงนั้นเลย

เรื่องนั้นส่งอิทธิพลหลายๆอย่างมาก, หลังจากเธอจากไป เยาวชนหลายๆคนก็ ฆ่าตัวตายตามไปด้วย,​ ถ้าดูหนังสือพิมพ์ในตอนนั้น มีพาดข่าวเกี่ยวๆเด็กๆหลายคนที่ปลิดชีพตัวเอง น่าตกใจมาก

สาเหตุที่โอคาดะ ยุกิโกะฆ่าตัวตายคืออะไรกัน,​ไม่มีใครรู้ไม่มีข้อความทิ้งเอาไว้

แต่สื่อก็ได้คาดเดาไว้ว่าเป็นเรื่องความรัก หรือเรื่องสภาพจิตใจ

ในตอนนั้นผมอาย 26 ปี ทำงานเป็นนักเขียนเกี่ยวกับไอดอล ได้ไปสัมภาษณ์และก็เขียนบทความเกี่ยวกับไอดอล

หนึ่งปีก่อนมีบูมเกี่ยวกับคนรุ่นใหม่,​ หลายๆคนก็เรียกผมว่าเป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ ได้รับความนิยมระดับนึงเลย และก็ได้ออกทีวีนิดหน่อยด้วย


การได้พบ โอคาดะ ยุกิโกะ

เป็นเรื่องราวของช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1985

วันหนึ่งเดินไปเจอผู้จัดการค่ายบันเทิงที่สนิทกันคนหนึ่งที่สถานีโทรทัศน์ สาวน้อยที่ยืนข้างๆเขาก็โค้งคำนับให้ เธอเป็นสาวสวยผิวขาว หน้าตาดี

เด็กคนนั้นคือ โอคาดะ ยูกิโกะ

แน่นอนว่าผมรู้จักเธออยู่แล้ว เพราะเป็นไอดอลที่มีความนิยมขาขึ้นยังไงล่ะ

หลังจากคุยกันนิดหน่อยผมก็บอกเธอว่า "พยายามเข้านะ !" แล้วเธอก็ยิมและก็ตอบว่า "ขอบคุณมากค่ะ !"

ผมไม่มีวันลืมรอยยิ้มที่ดูเขินๆตอนนั้นได้เลย เพราะว่าครึ่งปีหลังจากนั้น เธอไม่อยู่อีกแล้วยังไงอ่ะ…

เรื่องที่เธอฆ่าตัวตายก็เลยเป็นเรื่องที่ช็อคมากสำหรับผม เพราะว่ามีความทรงจำทรงนี้ยังไงล่ะ

จริงๆก็มีคนหลายๆอยากได้ความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้จากผม แต่ผมไม่สามารถให้คำตอบได้เลย

ณ ตอนนั้น, สภาพจิดใจของผมก็ค่อนข้างเสี่ยง งานก็ยุ่งๆแล้วเหมือนจะมีอาการป่วยทางจิตอีก

หรือที่เขาชอบเรียกกันว่าสถานการณ์ "ซึมเศร้า" ยังไงล่ะ

กว่าผมจะออกจากอันตรายได้ก็ใช้เวลาสองปี และก็เขียนนิยายเรื่อง "オシャレ泥棒" (Oshare Dorobu) ที่เริ่มต้นด้วยการฆ่าตัวตายของโอคาดะ ยูกิโกะ

ในปีต่อมา (1989) นิยายเรื่องนี้ได้ถูกทำเป็นละครทีวีโดย TBS

สาวน้อยที่กระโดดลงจากตึกก็ถูกแสดงโดยมิยาซาวะ ริเอะ สาวน้อยอายุ 16 ปี ณ เวลานั้น


สิ่งทีเธอใฝ่ฝัน

หลังจากโอคาดะโอคาดะ ยูกิโกะจากไปแล้ว 10 ปี ก็มีนิทรรศการเกี่ยวกับเธอจัดที่ศาลากลางเมืองชินจูกุ งานนี้จัดโดยเหล่าแฟนๆ ผมก็มีโอกาสได้แวะไปดู มีของเกี่ยวกับไอดอลที่จากไปแล้วถูกจัดแสดงมากมาย

ผมตกใจมากตอน เห็นผลการเรียนของเธอ,​ เกือบจะเกรด 4 หมดเลย ! หายากนะ ไอดอลที่เรียนเก่งขนาดนี้

โอคาดะเกิดที่จังหวัดไอจิ, โตมาในครอบครัวที่เข้มงวด พ่อแม่ต่อต้านการเข้าวงการบันเทิงมาก

ตอนอยู่มัธยมต้น เธอผ่านรอบคัดเลือกท้องถิ่นของรายการ "Star Tanjou", แต่ว่าจะเข้ารอบชิง แม่ของเธอได้กำหนดข้อแม้ที่ยากมากไว้สามอย่าง

  1. ต้องสอบได้ที่ 1 ของระดับชั้น
  2. ต้องสอบได้ภายในอันดับที่ 5 ในข้อสอบท้องถิ่น
  3. ต้องสอบผ่านเข้าไปในโรงเรียนระดับท็อป

ถึงจะยากมาก แต่เธอก็ทำสามข้อนี้ผ่านหมดเลย, เธอมีความตั้งใจสูงมาก และก็พยายามหนักมาก

ทำไมกันนะเหรอ ?

ก็เพราะอยากเป็นไอดอลยังไงล่ะ !

มีความแน่วแน่, ใฝ่ฝันอยากจะเป็น

ก็เหมือนพวกเธอตอนนี้แหละ

ในที่สุดเธอก็ได้ย้ายมาอยู่โตเกียว และก็เฉิดฉายในฐานะท็อปไอดอล

แต่ว่า…

ทำตามความฝันอยู่แท้ๆแต่ที่จุดสูงสุดนั้นเธอเลือกที่จะปลิดชีพตัวเอง, ตั้งแต่อายุ 18 ปี


ส่งคำอธิฐานให้เธอต่อไป

จากตอนนั้นก็ผ่านไป 30 กว่าปีแล้ว

วันที่ 8 เมษายนปีนี้ ผู้คนก็ยังไปรวมตัวกันที่ทางแยกใน โยทสึยะ ซอย 4

ใช่แล้วแหละ สถานที่ที่เธอเสียชีวิตยังไงล่ะ

ถึงแม้เหตุการณ์จะผ่านไปแล้ว 30 ปี, แต่แฟนคลับหลายๆคนก็ยังมารวมตัวในวันนี้ทุกๆปี เพื่อมามอบดอกไม้และก็ไว้อาลัยให้กับเธอ

สำหรับผม ผมปีก็จะไปที่นี้เพื่อพนมมือส่งคำอธิฐานให้กับเธอทุกๆปี ตอนนี้ก็เกิน 20 ปีแล้ว

เพียงแค่ได้เจอกันแค่ครั้งเดียว และก็คุยกันนิดหน่อย,​ และเธอก็พูดกลับมาว่า "ขอบคุณค่ะ" ด้วยรอยยิ้มที่ดูเขินๆ ผมไม่มีวันลืมมันได้เลย

ผมไม่ได้จะชื่นชมเรื่องการที่เธอฆ่าตัวตายหรอกนะ,​ เป็นเรื่องที่น่าเศร้าจริงๆ ไม่อยากให้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สองในโลกของไอดอลอีกเลย

แต่ผมอยากให้ชีวิตของเธอไม่สูญเปล่า สาวน้อยที่ชื่อโอคาดะ ยูกิโกะมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้, เปล่งประการในฐานะไอดอล ผมจะไม่มีวันลืมเรื่องนี้ อยากให้พวกเธอเข้าใจเรื่องนี้ด้วย

ในเที่ยงคืนของวันที่ 8 เมษายน ผู้คนไปยืนล้อมที่สถานที่ตายของเธอ และก็สงบนิ่งไว้อาลัยเป็นเวลา 1 นาที ผมก็ยืนพนมมือขอพรเหมือนกัน ให้จิตวิญญาณของเธอไปสู่สูขติ

ทุกๆปี ผมขอพรให้โลกที่เธอเปล่งประกายในฐานะไอดอล เป็นสถานที่ที่ดีกว่านี้


ฤดูหนาวของไอดอล

พอหมดยุค 80s, ไอดอลบูมก็เริ่มซบเซาลง และความนิยมของไอดอลก็ตกลงเป็นเวลานาน หลายๆคนเรียกช่วงเวลานี้ว่า

"ฤดูหนาวของไอดอล"

รายการเพลงที่แจ้งเกิดไอดอลในยุคนั้นเช่น "The Best 10" หรือ "Yoru no hitto sutajio" (夜のヒットスタジオ) ก็พากันหยุดออกอากาศ เริ่มเห็นไอดอลบนจอทีวียากขึ้น

ช่วงนั้นเป็นยุคทองของ J-pop ในช่วงนั้น ช่วงนั้นรายการทีวีนิยอมเป็นรูปแอบบรายการเพลงนำศิลปิน J-pop มาจับคู่กับดาราตลกเป็นพิธีกรเช่น "HEY! HEY! HEY!" หรือ "อุตะบัน"

สมัยก่อนพอไอดอลเดบิ้วต์เป็นนักร้อง, ก็มีโอกาสได้แสดงหนัง, ละคร,​โฆษณา และก็ออกรายการวาไรตี้อยู่บ่อยๆ

ในยุค 70, ยามากุยิ โมโมเอะ ก็โดดเด่นไม่ว่าจะไปออกงานแบบไหน

พอเข้ายุค 90, ไอดอลที่เป็นนักร้องความนิยมก็เริ่มถดถอย, งานที่เป็นไอดอลก็ถูกแยกประเภทละเอียดมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น สาวสวยที่เดบิ้วจากงานโฆษณา, สาวน้อยที่เป็นโมเดลออกนิตยสารแฟชั่น, "บาระไอดอล" ที่ไปออกรายการวาไรตี้ หรือไม่ก็ กราเวียไอดอล

ในหมู่นักแสดงหญิงที่แสดงละครหรือภาพยนตร์ ก็ไม่สาวน้อยที่ได้รับความนิยมแบบไอดอลนะ (ไม่ว่าจะเป็น อุเอโตะ อายะ (上戸彩) ที่เกล้าไว้ตอนต้น, มิยาซากิ อาโออิ (宮崎あおい), อาโออิ ยู (蒼井優), นากะซาวะ มิซามิ (長澤みさみ),​ ซาวาชิริ เอริกะ (沢尻エリカ),​ อายาเสะ ฮารุกะ (綾瀬はるか), อุเอโนะ จุริ (上野樹里),​ อิชิฮาระ ซาโตมิ (石原さとみ),​ อิโนะอุเอะ มาโอะ (井上真央), โฮริคิคะ มากิ (堀北真希), อารากะคิ ยุย (新垣結衣) เป็นต้น ในยุคปี 2000 มีไอดอลนักแสดงเต็มไปหมด)

หลังจากจากไอดอลเกิดการแยกประเภทแบบนี้ขึ้น ไอดอลเป็นนักร้องที่เราเคยรู้จักก็เริ่มจางลงไป ในช่วงนั้น จริงๆก็มีไอดอลที่เปล่งประกายเป็นช่วงๆเช่น SPEED, ฮิโรซุเอะ เรียวโกะ 広末涼子, Morning Musume แต่ว่าไม่ได้มีไอดอลบูมแบบยาวๆ

ผมเคยบอกว่าไอดอลเป็น " อาชีพที่ทำให้คนมา​​ "ชอบ" ผ่านสื่อต่างๆ " ยังจำได้อยู่ไหม, ในช่วงที่ทีวีเป็นสื่อประเภทหลัก, ไอดอลก็เป็น "สาวน้อยที่ออกทีวีอย่างมีเสน่ห์" ยังไงล่ะ แต่พอออกทีวีไม่ได้,​ จริงๆไอดอลเกือบจะแทบสูญพันธ์เลยแหละ


ไลฟ์ + อินเตอร์เน็ต

ในช่วงนั้น ไอดอลทำอะไรกันนะ

ใช่แล้วแหละ พวกเขาก็ออกไปแสดงไลฟ์ตามที่ต่างๆยังไงล่ะ

AKB48 ที่เริ่มเดบิ้วช่วงท้ายปี 2005, คุณอากิโมโตะ ก็ได้เตรียมสถานที่แสดงเอาไว้เฉพาะ เพื่อแสดงไลฟ์ทุกวัน

ไม่ว่าจะเป็น Perfume หรือ Momoiro Clover Z, ตอนเริ่มมาพวกเขาก็แสดงอยู่ในสถานที่เล็กๆ หรือบนถนน ตอนนี้พวกเขาเป็นท็อปไอดอลมีแฟนคลับหลายหมื่นคน การที่ไลฟ์แรกของเขามีผู้ชมแค่ 7 คน เป็นเรื่องที่คนรู้จักกันเยอะนะ กว่าที่เขาจะได้ออกทีวีบ่อยขนาดนั้นก็ใช้เวลาหลายต่อหลายปีหลังจากเดบิ้ว

ณ จุดนี้, ก็มีสื่อชนิดใหม่ที่จะมาเปลี่ยนแปลงยุคของไอดอล

ใช่แล้ว นั้นคืออินเตอร์เน็ตยังไงล่ะ

ถึงจะไม่มีทีวี ก็สามารถประกาศข่าวสารเกี่ยวกับไอดอลได้ง่ายๆ, ไลฟ์หรือมิวสิควิดิโอก็ถูกอัพโหลดลง Youtube, แฟนๆก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลมหาศาลกันได้ผ่าน Social Network เช่น Line, Facebook หรือ Twitter

สิ่งที่แบกไอดอลยุคนี้ไว้ ก็คือ การไปแสดงไลฟ์ + อินเตอร์เน็ตยังไงล่ะ !

สมัยนี้ เด็กๆแทนที่จะดูทีวี ก็หันมาใช้สมาร์ทโฟนกันเยอะขึ้น

ช่วงปี 1990-2000 หรือ "ฤดูหนาวของไอดอล" เมื่อก่อนที่ J-POP ขายดีทีน้ำเทท่า ตอนนี้ความนิยมได้ถดถอยอย่างรวดเร็ว ตอนนี้ซีดีแทบจะขายไม่ออก

ณ ปัจจุบัน สิ่งที่แบกยอดขายของซีดีก็คือ การใส่บัตรจับมือ หรือตั๋วเข้าร่วมงานแบบ AKB48 ยังไงล่ะ

รายการเกี่ยวกับ J-POP เช่น "HEY! HEY! HEY!" หรือ "อุตะบัน" ก็จบแล้วเช่นกัน


ไอดอลกลับมาแล้ว

สภาพแวดล้อมของสื่อเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเลยแหละ ยุคที่ทีวีเป็นศูนย์กลางของสื่อได้จบไปแล้ว แน่นอนว่าทีวียังเป็นที่นิยมอยู่ แต่ยุคที​ "การออกทีวีจำเป็นต่อการเพิ่มยอดขายแผ่น" ที่วงการบันเทิง (ทั้งไอดอล และ J-pop) ต่างรู้จักกันได้จบไปแล้วแหละ

นี่มันเป็นเรื่องใหญ่มากเลยนะ !

ไอดอลได้กลับมาได้รับความนิยมในยุคนี้, ก้าวข้ามผ่านฤดูหนาวและก็กลับมาอย่างยิ่งใหญ่ขึ้น

จุดเด่นของไอดอลยุคนี้คืออะไรกัน ? การที่มีจำนวนไอดอลมหาศาลยังไงล่ะ

เยอะแค่ไหนเหรอ ถ้านับ AKB48 กรุ๊ปก็ประมาณ ร้อยสองร้อยคน, ไม่ได้มีแค่เมเจอร์ไอดอล แต่ก็มีจิกะไอดอลที่ทำงานออกมาแบบแนวอินดี้ต่างๆอีกมามาย ในญี่ปุ่นมีตัวละครมาสคอตกับไอดอลอยู่แทบทุกพื้นที่

มีคนเคยบอกว่ามีไอดอลอยู่ประมาณ ห้าพันคนถึง หนึ่งหมื่นคน แต่จริงๆแล้วก็คงนับไม่หมดหรอก

ในหมู่ไอดอลจำนวนมากนี้, ทุกๆวัน หรือแม้ตอนนี้ เขาก็แสดงไลฟ์อยู่ทั่วญี่ปุ่น, สตรีมการแสดงสนบนเน็ต, หรือไม่ก็จัดงานจับมือ/ แจกลายเซ็นอยู่ มีการออกงานในหลายรูปแบบ

คงไม่มีใครคิดหรอกว่าวงการไอดอลจากมาได้ไกลขนาดนี้ มันสุดยอดมาก, เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของไอดอล !

ผมเคยบอกว่า "ประวัติศาสตร์ของไอดอล ก็คือประวัติศาสตร์ของสื่อ " ใช่ไหม, จะเรียกว่าสื่อยุคนี้ทำให้มีไอดอลจำนวนมากเกิดขี้นก็ย่อมได้


ไปสู่อนาคต

ตอนนี้ใครๆก็เป็นไอดอล แต่ว่าความหมายของไอดอลต่างไปจาก โอเนียนโกะคลับ อย่างสิ้นเชิง ไม่จำเป็นต้องในพลังของโทรทัศน์แล้วยังไงล่ะ

สมมุติว่าเธออยากจะเป็นไอดอลตอนนี้, ร้องเพลงและเต้นบนถนน และก็อัดวิดิโออัพลง Youtube/ Niconico ก็โอเคแล้ว ทุกๆคนทั่วโลกก็สามารถดูวิดิโอของเธอได้แล้ว

สำหรับการประกาศต่างๆก็ใช้ Blog หรือว่า ทวิตเตอร์ในการแัพเดทข่าวสาร แค่นี้ก็สามารถสร้างฐานแฟนคลับได้ด้วยตัวเองแล้ว

แค่ถ่ายรูปเซลฟี่ตัวเองและก็อัพขึ้นเน็ต ก็กลายเป็นกราเวียไอดอลได้แล้ว

ตอนนี้เธอเป็นไอดอลได้เลยในทันทีเลยนะ ! ช่างเป็นยุคที่วิเศษจริงๆ

นี่เป็นผลของการที่วัฒนธรรมไอดอลที่มีประวัติศาสตร์กว่า 40 ผ่านการเปลี่ยนแปลงของสื่อตามยุคสมัย แล้วก็กลายมาแบบรู้แบบนี้ยังไงล่ะ

อยากให้พวกเธอรู้จักสิ่งนี้เอาไว้, เพิ่อที่เธอจะได้เป็นคนเล่าให้คนรุ่นหลังฟัง

การที่เธอสามารถฝันว่าจะเป็นไอดอลได้ ก็เพราะว่าไอดอลผ่านประวัติศาสตร์มายาวนานยังไงล่ะ มีคนหลายๆคนที่ค่อยผลักดันสนับสนุนวงการนี้ให้มีต่อๆไป มีเรื่องไม่ดีอยู่บ้าง ถึงกับเสียชีวิตไปเลยก็มี

เพราะยังงั้น พวกเราถึงมีไอดอลที่เป็นวัฒนธรรมให้ใฝ่ฝัน หรือว่า สนุกไปกับมันยังไงล่ะ

ก็เหมือนกับพวกเธอเกิดมาอยู่ตรงนี้ได้ ก็เพราะมีหลายๆคนอยู่มาก่อนยังไงล่ะ

แน่นอน ว่าประวัติศาสตร์ไอดอลไม่ได้จบลงตรงนี้แน่นอน, มันจะต้องไปต่อเรื่อยๆแน่นอน

ตลอดไป

ไอดอลในอนาคตจะเป็นยังไงกันนะ ?

ใครจะเป็นคนเปลี่ยนแปลงอนาคตของไอดอล ?

เข้าใจแล้วซินะ

ใช่แล้ว… เธอยังไงล่ะ !


ต่อไป: บทที่ 4: วิธีการมาเป็นไอดอล


© 2023-2024 HamP, Assets used in the site belongs to respective owner | View Source